
การเดินทางด้วยรถไฟทรานส์ไซบีเรียด้วยตัวเอง ในปี 2567
Sep 5, 2024
4 min read
4
89
0

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เร าจะมาแนะนำวิธีการเตรียมตัวสำหรับเดินทางด้วยรถไฟบนทางรถไฟสายทรานส์มองโกเลียและทรานส์ไซบีเรียผ่านประเทศมองโกเลียและประเทศรัสเซีย รวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตกับประสบการณ์การเดินทางของเราในหน้าร้อนของเดือนมิถุนายน ปี 2024 ค่ะ เนื่องด้วยเป็นหัวข้อที่หาข้อมูลก่อนที่จะไปได้ยากมาก หวังว่าบทความนี้ของเราจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ :)
______________________
เนื้อหาในบทความนี้จะแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้ค่ะ สนใจหัวข้อไหนก็กดข้ามไปอ่านกันได้เลยนะคะ
______________________
ทำความรู้จักกับเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียและทรานส์มองโกเลีย
ก่อนจะเริ่มออกเดินทาง เราจะเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของทางรถไฟทั้งสองสายนี้ หลายคนคงเคยได ้ยินชื่อของทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียมาก่อน ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก ตัดผ่านประเทศรัสเซียซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเดินทางด้วยรถไฟสายนี้คงเป็นการเดินทางในฝันของใครหลายคน จินตนาการถึงวิวสองข้างทางของรถไฟที่เปลี่ยนไปตามระยะทาง และการใช้ชีวิตบนรถไฟอย่างยาวนาน พบพานกับผู้คนที่หลากหลายและสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ ประสบการณ์ที่ได้จากการนั่งรถไฟสายนี้น่าจดจำและเป็นอีกหนึ่งการเดินทางที่ล้ำค่า ถ้ามีเวลาก็แนะนำให้ไปสักครั้งในชีวิตค่ะ
เหตุผลที่ควรไปทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียและทรานส์มองโกเลีย
ประสบการณ์ที่ไม่เ หมือนใคร
การเดินทางบนรถไฟเป็นเวลานาน ทำให้ได้สัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามเส้นทาง ได้ชิมอาหารท้องถิ่น และได้เห็นทิวทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดการเดินทาง และถึงจะเป็นเส้นทางเดียวกัน แต่นักเดินทางแต่ละคนก็จะพบเจอเรื่องราวของตัวเอง
วัฒนธรรมที่หลากหลาย
เส้นทางรถไฟผ่านหลายประเทศ ทำให้ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งรัสเซีย และมองโกเลีย ได้เจอผู้คนท้องถิ่นที่เดินทางด้วยรถไฟสายนี้ ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างทั้งอายุ อาชีพ นิสัย ทำให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่น่าสนใจ
ธรรมชาติที่สวยงาม
ประเทศรัสเซียที่กว้างใหญ่ มีหลายภูมิประเทศ ป่าสน ทะเลสาบไบคาล และเมืองต่างๆ ที่มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และมองโกเลีย เห็นทุ่งหญ้ากว้างสุดลูกหูลูกตา
ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
เนื่องจากเส้นทางทรานส์ไซบีเรียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่ก่อสร้างในสมัยศตวรรษที่ 19 และเป็นการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ เชื่อมรัสเซียตะวันตกเข้ากับตะวันออก และเมืองต่าง ๆ ระหว่างเส้นทางก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย
ทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางรถไฟที่ตัดผ่านประเทศรัสเซีย เป็นหนึ่งในโปรเจคใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นของโลก เส้นทางนี้เชื่อมจากเมืองวลาดิวอสตอก (Vladivostok) ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกสุดของประเทศ สู่เมืองหลวงมอสโก (Moscow) ทางฝั่งต ะวันตก ระยะทางรวม กิโลเมตร ซึ่งก็เกือบจะเท่า 1/4 ของเส้นรอบวงของโลกเลยทีเดียว ถ้านั่งต่อเนื่องก็จะใช้เวลารวม 6 วันค่ะ และตัวรถไฟที่เดินทางผ่านเส้นเส้นแบ่งเขตเวลา (timezone) ถึง 8 เขตเวลา ทำให้เหมือนเดินทางข้ามเวลาได้เลยล่ะค่ะ
ประวัติศาสตร์ของเส้นทางทรานส์ไซบีเรีย
ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย: การก่อสร้างทางรถไฟแสนยิ่งใหญ่ที่เชื่อมโลก
เคยสงสัยมั้ยคะว่าทำไมรัสเซียถึงมีทางรถไฟยาวที่สุดในโลก? และกว่าจะสร้างเส้นทางอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นมาได้ต้องเจอกับอุปสรรคอะไรบ้าง? มาไขปริศนาไปพร้อมกันค่ะ
จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่
การสร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเริ่มขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย มีเป้าหมายหลักเพื่อ:
ขยายอาณาเขต: เชื่อมโยงดินแดนไซบีเรียอันกว้างใหญ่เข้ากับส่วนกลางของประเทศ ทำให้รัสเซียมีอำนาจควบคุมพื้นที่ได้มากขึ้น
เสริมสร้างกองทัพ: อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายกำลังทัพไปยังชายแดนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ
พัฒนาเศรษฐกิจ: ส่งเสริมการค้าและอุตสาหกรรมในภูมิภาคไซบีเรีย ทำให้รัสเซียมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ความท้าทายในการก่อสร้าง
การสร้างทางรถไฟสายนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ เพราะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เช่น:
ธรรมชาติที่โหดร้าย: ต้องขุดอุโมงค์ผ่านภูเขาสูง สร้างสะพานข้ามแม่น้ำใหญ่ และปรับปรุงภูมิประเทศที่ขรุขระ ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบากและใช้เวลานาน
สภาพอากาศสุดขั้ว: ทั้งความหนาวเหน็บในฤดูหนาว และความร้อนชื้นในฤดูร้อน ทำให้การทำงานล่าช้าและอันตราย
การขาดแคลนแรงงาน: การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ต้องใช้แรงงานทาสและนักโทษมาช่วยในการก่อสร้าง
ผลกระทบที่ตามมา
เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียก็ได้สร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อรัสเซียและภูมิภาคเอเชีย เช่น:
การพัฒนาเศรษฐกิจ: ส่งเส ริมการค้าและอุตสาหกรรมในภูมิภาคไซบีเรีย ทำให้เกิดเมืองใหม่ๆ ขึ้นมากมาย
การอพยพของประชากร: ช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปยังภูมิภาคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ทำให้ประชากรกระจายตัวมากขึ้น
การเชื่อมโยงวัฒนธรรม: ทำให้วัฒนธรรมของรัสเซียแผ่ขยายไปยังภูมิภาคเอเชีย
บทบาททางยุทธศาสตร์: มีบทบาทสำคัญในการสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามเย็น
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม
แรงงานที่ใช้ในการก่อสร้าง: มีการใช้แรงงานทาสและนักโทษในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการก่อสร้าง
การค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ: การก่อสร้างทางรถไฟช่วยให้ค้นพบทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ทองคำ ถ่านหิน และน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัสเซีย
บทบาทของทางรถไฟในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: ทางรถไฟสายนี้มีบทบาทสำคัญในการขนส่งกำลังบำรุงและอาวุธ ให้แก่กองทัพรัสเซียในการทำสงคราม
เหตุการณ์สำคัญ:
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น: สงครามครั้งนี้เผยให้เห็นถึงความไม่พร้อมของรัสเซียในการทำสงคราม และความสำคัญของทางรถไฟในการขนส่งกำลังพลและเสบียง
การปฏิวัติรัสเซีย: ทางรถไฟเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการต่อสู้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ในช่วงสงครามกลางเมือง
ส งครามโลกครั้งที่สอง: ทางรถไฟมีบทบาทสำคัญในการขนส่งอาวุธและกำลังพลในการต่อสู้กับนาซีเยอรมนี
การก่อสร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ทางรถไฟสายนี้ไม่เพียงแต่เชื่อมโยงดินแดนอันกว้างใหญ่ของรัสเซียเข้าด้วยกัน แต่ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศอีกด้วย
ทางรถไฟทรานส์มองโกเลีย
เป็นทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างประเทศมองโกเลีย กับประเทศจีนและประเทศรัสเซีย เส้นทางมีความยาวรวมทั้งหมด 2080 กิโลเมตร ทางรถไฟสายนี้สร้ างขึ้นด้วยความช่วยเหลือและเป็นผลมาจากความสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียและประเทศจีน ช่วงศตวรรษที่ 19 มองโกเลียต้องการแยกตัวจากการปกครองภายใต้จีน โซเวียตที่มีอำนาจมากกว่าสนับสนุนการปกครองตนเองของมองโกเลียและช่วยสร้างทางรถไฟจาก Ulan Ude ของรัสเซียไปยัง Naushki ของมองโกเลีย และขยายออกไปถึง Ulaanbaatar เมืองหลวงของรัสเซียในเวลาต่อมา ช่วงเวลาหลายสิบปีหลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับมองโกเลียก็ดีขึ้น ก็เลยมีการสร้างทางรถไฟต่อจากปักกิ่งประเทศจีนไปอูลันบาตาร์ประเทศมองโกเลีย
______________________
การเตรียมตัวก่อนออกเดินทางด้วยรถไฟทรานส์ไซบีเรีย 2567
การวางแผนเส้นทางการเดินทาง
ขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนออกเดินทางคือต้องวางแผนว่าจะเดินทางจากเมืองไหนไปเมืองไหนบ้างค่ะ เพราะว่าเส้นทางรถไฟสายนี้ผ่านเมืองเล็กใหญ่หลายเมือง บางคนอาจจะต้องการดูวิวสองข้างทางที่เปลี่ยนไปและอยู่บนรถไฟนาน ๆ บางคนอาจต้องการลงไปยืดเส้นยืดสาย อาบน้ำ เข้าห้องน้ำดี ๆ และเดินเล่มซึมซับบรรยากาศที่แตกต่างของในแต่ละเมือง การเดินทางข้ามจากฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตกหรือในเส้นทางตรงกันข้าม ก็ทำให้เราได้เห็นลักษณะของเมือง สิ่งก่อสร้าง และผู้คนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการเดินทางสายทรานส์ไซบีเรียเลยค่ะ ถ้ามีเวลาเราก็แนะนำให้นั่งรถไฟสักวันสองวันและแวะพักที่เมืองระหว่างทางก่อนที่จะเดินทางต่อด้วยรถไฟค่ะ
ตัวเลือกการเดินทาง
เดินทางจากเมืองเริ่มต้นทีเดียวยาว ๆ จนถึงปลายทาง
เดินทางเป็นช่วง ๆ บนเส้นทางสายนี้ และแวะพักเมืองระหว่างทาง
หลังจากเลือกตัวเลือกการเดินทางแล้ว ก็ต้องมาเลือกว่าจะแวะเมืองไหนบ้างค่ะ
ชื่อเมืองต่างระหว่างทางและรายละเอียดที่น่าสนใจของแต่ละเมืองมีดังนี้ค่ะ
ทรานส์มองโกเลีย
อูลันบาตาร์ (Ulaanbaatar)
เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย ในตัวเมืองสามารถเดินเที่ยวชมวัด พิพิธภัณฑ์ และบรรยากาศในเมือง และแนะนำให้ซื้อ local tour ไปนอนกระโจมตามวิถีชีวิตโนแมดท่ามกลางทะเลทรายและภูเขาหญ้า สัมผัสธรรมชาติไร้ขอบเขต ทะเลทรายโกบี สัตว์ทะเลทรายต่าง ๆ อูฐม้าวัวกิ้งก่า
เวลาที่แนะนำ Ulaanbaatar อย่างน้อย 1 วัน
Gorkhi-Terelj National Park หรือ Gobi Desert อย่างน้อย 2 วัน
ทรานส์ไซบีเรีย
มอสโก (Moscow, Москва): เมืองหลวงของรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น จัตุรัสแดง (Red Square), พระราชวังเครมลิน (Kremlin) และมหาวิหารเซนต์เบซิล (St. Basil's Cathedral) มอสโกเป็นเมืองที่ผสมผสานความทันสมัยและความคลาสสิกเข้าด้วยกันอย่างลงตัว
นีจนีโนฟโกรอด (Nizhny Novgorod, Нижний Новгород): เมืองประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำโวลกา มีครีมลินที่สวยงามและถนนโบราณที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ นีจนีโนฟโกรอดเป็นเมืองที่เงียบสงบและเหมาะแก่การพักผ่อน
คาซาน (Kazan, Казань): เมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย ผสมผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก มีมัสยิดคาซานที่สวยงามและเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโวลกา
เยคาเตรินบูร์ก (Yekaterinburg, Екатеринбург): เมืองอุตสาหกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักจากการปฏิวัติรัสเซียและเป็นสถานที่ประหารชีวิตครอบครัวซาร์ เมืองนี้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีชีวิตชีวา
ตูเมน (Tyumen, Тюмень): เมืองเก่าแก่ เป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจไซบีเรีย เมืองตูเมนมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและมีบรรยากาศที่อบอุ่น
โนโวซีบีสค์ (Novosibirsk, Новосибирск): เมืองใหญ่ที่สุดในไซบีเรีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของไซบีเรีย มีโอเปราเฮาส์ที่สวยงามและเป็นที่นิยมสำหรับการแสดงศิลปะ เมืองนี้เป็นเมืองใหม่ที่พึ่งก่อตั้งตอนที่สร้างทางรถไฟทรานส์ไซบีเรีย และเจริญเติบโตพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โนโว-นิโคลาเยฟสค์ (Novo-Nikolaevsk) ก่อตั้งขึ้นรอบการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำอ็อบในปี 1893 และเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมืองสำคัญของไซบีเรีย ด้วยทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์บนเส้นทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ทำให้เมืองนี้ดึงดูดผู้ประกอบการและนักธุรกิจ จนเกิดการก่อตั้งธนาคาร ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้น ภายในปี 1909 เมืองนี้มีสภาเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญในเครือข่ายเมืองของรัสเซีย แม้จะมีเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 และการปฏิวัติรัสเซีย เมืองโนโว-นิโคลาเยฟสค์ยังคงเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หลังสงครามกลางเมือง รัฐบาลโซเวียตเห็นคุณค่าที่เมืองนี้ไม่มีการต่อต้านฝ่ายบอลเชวิคอย่างรุนแรง และยกให้เป็นเมืองหลวงของไซบีเรีย ในปี 1926 เมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโนโวซีบีร์สค์ (Novosibirsk)
ครัสโนยารสค์ (Krasnoyarsk, Красноярск): เมืองริมแม่น้ำเยนิเซย์ มีธรรมชาติที่สวยงามและเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของไซบีเรีย เมืองนี้มีหุบเขาสโตลบี ซึ่งเป็นสถานที่ปีนเขาที่ได้รับความนิยม
อีร์คุตสค์ (Irkutsk, Иркутск): ประตูสู่ทะเลสาบไบคาล มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางไปเที่ยวชมทะเลสาบไบคาล เมืองนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบและเป็นมิตร
อูลานอูเด (Ulan-Ude, Улан-Удэ): เมืองหลวงของสาธารณรัฐบูเรียตียา มีวัฒนธรรมบูเรียตที่เป็นเอกลักษณ์ มีรูปปั้นเลนินขนาดใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง
วลาดีวอสต็อก (Vladivostok, Владивосток): เมืองท่าริมทะเลญี่ปุ่น จุดหมายปลายทางของเส้นทางทรานส์ไซบีเรีย เมืองนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงามและมีบรรยากาศที่ทันสมัย
สถานีนอกเส้นทางที่น่าสนใจ
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg, Санкт-Петербург) เป็นเมืองที่งดงามและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของรัสเซีย ตั้งอยู่ริมอ่าวฟินแลนด์ (Gulf of Finland) ด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามอลังการคล้ายคลึงกับเมืองเวนิสของอิตาลี ทำให้ได้รับฉายาว่า "เวนิสแห่งเหนือ" (Venice of the North) เมืองนี้เต็มไปด้วยคลองและสะพานมากมาย รวมถึงอาคารที่สวยงามสไตล์นีโอคลาสสิก บาร็อค และอาร์ตนูโว
ทรานส์แมนจูเรีย
: สำหรับท่านที่สนใจ เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อจากประเทศจีน ไปถึงประเทศรัสเซียโดยที่ไม่ผ่านมองโกเลียค่ะ
พอเห็นชื่อแล้วอาจจะเริ่มรู้สึกตาลายเลือกไม่ถูก ก็เป็นอะไรที่เลือกยากเหมือนกันค่ะ สำหรับการเดินทางของเราตัดสินใจเลือกเมืองจากความถูกชะตาของชื่อ และดูเวลาขึ้นลงรถไฟที่ลงตัวค่ะ เราเลือกเป็นนั่งรถไฟประมาณครั้งละประมาณ 20-30 ชั่วโมง และพักตามเมืองระหว่างทาง แต่ถึงอย่างไรก็เลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลยค่ะ สำหรับแผนที่เราได้เดินทางไปรู้สึกว่ากำลังพอดีค่ะ ถ้านั่งรถไฟนานกว่านี้ก็คงจะไม่สะดวก ห้องน้ำบนบกในเมืองเหมาะกับการทำกิจธุระและอาบน้ำมากกว่า
เวลาที่ใช้ในการเดินทางตลอดทั้งทริป
อย่างน้อยที่สุดก็ 7 วันแบบไม่แวะพัก ก็จะได้นั่งรถไฟยาว ๆ 6 วัน แต่ถ้าแนะนำค วรใช้เวลาสัก 2 สัปดาห์ขึ้นไปให้กับการเดินทางครั้งนี้ จะเต็มอิ่มกับการเดินทางมากกว่าค่ะ เดินทางแบบช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบร้อน
การซื้อตั๋วรถไฟ
เมื่อเลือกเมืองได้แล้วก็มาซื้อตั๋วกันค่ะ การเดินทางด้วยรถไฟทรานส์ไซบีเรียและทรานส์มองโกเลียไม่มีแบบตั๋วบุฟเฟต์ที่ขึ้นตอนไหนก็ได้ เราจะต้องซื้อตั๋วแบบระบุเวลาและรอบที่ชัดเจนตามเมืองที่จะขึ้น ซึ่งช่องทางในการซื้อตั๋วมีดังนี้ค่ะ
ทรานส์มองโกเลีย
รถไฟทรานส์มองโกเลียไม่ได้วิ่งทุกวัน ยังไงวางแผนดี ๆ และเช็ครอบก่อนนะคะ ล่าสุดที่เราทราบวิ่งทุกเสาร์อาทิตย์ (update June 2024) หรือสามารถเช็คในเว็บ tutu.ru ไว้ก่อนได้ค่ะ
จองผ่านที่พัก
จองผ่าน agent
จองผ่านสถานีรถไฟ

ทรานส์ไซบีเรีย

จองผ่านเว็บทางการของการรถไฟรัสเซีย rzd.ru ต้องเข้าผ่าน vpn และต้องใช้บัตรรัสเซียในการซื้อตั๋วออนไลน์ วิธีการซื้อตั๋วในปีนี้จะยุ่งยากกว่าแต่ก่อนค่ะ จากที่หาข้อมูลมาก่อนหน้านี้สามารถจองเองผ่านออนไลน์ได้เลย แต่ในตอนนี้ไม่สามารถทำได้ถ้าไม่มีบัตรเครดิตรัสเซียค่ะ
สามารถดูรอบรถไฟจาก tutu.ru หากไม่ได้เปิด vpn รัสเซีย หรือไม่ได้อยู่ในรัสเซีย

ราคาตั๋วคร่าว ๆ ประมาณนี้ค่ะ ถ้าอยากทราบราคาอัพเดตในวันที่จะไปลองใส่วันดูในเว็บนะคะ

เลือกที่นั่ง โดยส่วนตัวแนะนำให้จองก่อนอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์เพื่อที่จะได้เลือกที่นั่งดี ๆ นะคะ ที่นั่งดี ๆ ที่ว่าก็คือเตียงล่างของฝั่งที่นั่งสี่คนค่ะ เพราะเตียงล่างไม่ต้องปีนขึ้นให้ลำบาก การปีนขึ้นเตียงบนก็ใช้ความสามารถในการทรงตัวและปีนป่ายพอสมควร อีกทั้งเตียงบนจะไม่มีที่นั่งในเวลากลางวันถ้าผู้โดยสารเตียงล่างไม่แบ่งปันให้ และไม่สามารถชมเห็นวิวจากหน้าต่างรถไฟได้ เตียงล่างฝั่งสี่ที่นั่งจะดีกว่าฝั่งสองที่นั่ง เพราะตอนกลางวันไม่ต้องเก็บเตียงก็สามารถใช้โต๊ะกินข้าว จิบชา วางแก้วได้ แต่ถ้าเป็นฝั่ง 2 ที่นั่ง หากจะใช้โต๊ะเราก็ต้องม้วนที่นอนก่อน แล้วกางโต๊ะออกมา ก็ยุ่งยากขึ้นนิดหน่อย อาจจะขี้เกียจทำได้ค่ะ (แตกต่างจากรถไฟไทยที่มีคนปูที่นอนทำเตียงให้ค่ะ ที่นี่เราต้องทำเองหมดเลย)

2. จองผ่านเว็บ agent มีหลายเว็บ ค้น google ได้เลย เช่น russianrailway.com etc ราคา +30% จากราคาตั๋วปกติ ข้อดีคือใช้บัตรต่างประเทศได้ (แต่ถ้าจองผ่านเว็บนี้ตอนอยู่ในรัสเซียจะตัดบัตรไม่ได้ เนื่องด้วยเงื่อนไขความปลอดภัยของธนาคารไทย ต้องจองไปก่อนเข้ารัสเซีย)
3. จองผ่าน agent รับจองตั๋ว เช่น เพจเที่ยวรัสเซียใน FB ราคา +50% ข้อดีคือสะดวกที่สุด ได้รับการบริการและช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ใช้เงินแก้ปัญหา
4. จองผ่านสถานีรถไฟ ก็คือไปซื้อเอาหน้างาน ข้อดีคือราคาปกติไม่บวก ข้อเสียคือที่นั่งมักจะเต็ม แนะนำให้จองล่วงหน้ามากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ซื้อตั๋วต้องเลือกอะไรบ้าง
วันเดือนปีที่เดินทาง
แนะนำให้จองล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์หรือมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะอาจจะเต็มหรือไม่ได้ที่นั่งที่ต้องการค่ะ
การเดินทางในแต่ละเดือนก็ให้บรรยากาศที่แตกต่างกัน เลือกตามความชอบและความสะดวกของแต่ละท่านได้เลยค่ะ ช่วงที่เป็น high season คือช่วงหน้าร้อน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม คนอาจจะเดินทางเยอะ และตั๋วเต็มไวกว่าปกติได้ บรรยากาศหน้าร้อนเขียวสดใส ช่วง spring เห็นดอกไม้บาน autumn ก็จะเห็นใบไม้เปลี่ยนสี winter ปกคลุมด้วยหิมะสีขาวโพลน แต่ก็จะหนาวมาก ๆ
รอบการเดินทาง
ดูรอบการเดินทาง ที่เวลาเหมาะสม รถไฟตรงเวลา ไม่เลทแม้แต่นาทีเดียว ควรมาก่อนถึงเวลาขึ้นรถไฟอย่างน้อย 15 นาทีค่ะ
ชั้นของรถไฟ
สำหรับขบวนนอน รถไฟทรานส์มองโกเลีย มี 2 ชั้น คือชั้น 1 และ ชั้น 2 ส่วนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียมี 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 ราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามความหรูหราของชั้นที่ขึ้น
เราเดินทางด้วยรถไฟแบบถูกสุดตลอดการเดินทาง คือชั้นสองของทรานส์มองโกเลีย และชั้นสามของทรานส์ไซบีเรีย ก็รู้สึกว่าไม่แย่ แต่ไม่ทราบว่าแบบที่หรูกว่าจะเป็นอย่างไร จึงขอไม่กล่าวถึงในท่ีนี้ค่ะ
เพิ่มเติมคือขบวนรถไฟจะมีประเภทของห้องน้ำ ถ้าเป็น biotoilet จะเป็นห้องน้ำที่ดีกว่า กดชักโครกได้ แนะนำให้เลือกขบวนที่มี biotoilet ค่ะ รู้สึกได้ถึงสุนทรียะในการใช้บริการห้องน้ำมากกว่าค่ะ
ที่นั่ง
แนะนำเป็นเตียงล่าง เพราะเตียงล่างไม่ต้องปีนขึ้นให้ลำบาก การปีนขึ้นเตียงบนก็ใช้ความสามารถในการทรงตัวและปีนป่ายพอสมควร อีกทั้งเตียงบนจะไม่มีที่นั่งในเวลากลางวันถ้าผู้โดยสารเตียงล่างไม่แบ่งปันให้ และไม่สามารถชมเห็นวิวจากหน้าต่างรถไฟได้
และเตียงจะมีสองฝั่ง ฝั่ง 4 ที่นั่ง กับ ฝั่ง 2 ที่นั่ง ดีที่สุดแนะนำเป็นเตียงล่างฝั่ง 4 ที่นั่ง เพราะตอนกลางวันไม่ต้องเก็บเตียงก็สามารถใช้โต๊ะกินข้าว จิบชา วางแก้วได้ แต่ถ้าเป็นฝั่ง 2 ที่นั่ง หากจะใช้โต๊ะเราก็ต้องม้วนที่นอนก่อน แล้วกางโต๊ะออกมา ก็ยุ่งยากขึ้นนิดหน่อย ขี้เกียจทำ (ปล. ไ ม่เหมือนรถไฟไทยที่มีคนปูที่นอนทำเตียงให้ ที่นี่เราต้องทำเองหมดเลยหนา แต่ก็ควบคุมเวลาได้ อยากจะนอนทั้งวันก็ย่อมได้)
การเตรียมตัว
วีซ่า
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ไม่จำเป็นต้องใช้วีซ่าท่องเที่ยวในมองโกเลียและรัสเซียค่ะ โดยมองโกเลียและรัสเซียสามารถเที่ยวได้ 30 วัน ไม่ต้องเตรียมการใด ๆ แค่มีพาสปอร์ตก็พอแล้วค่ะ
แพ็คกระเป๋า
เสื้อผ้า เตรียมไปตามฤดูกาลที่ไป ถ้าหน้าหนาวก็เตรียมเสื้อ กันหนาวไปด้วย หน้าร้อนอากาศร้อนเหมือนไทยเลยค่ะ บนรถไฟชาวรัสเซียนิยมเปลี่ยนเป็นชุดสบาย ๆ ใส่นอนกันค่ะ เตรียมชุดนอนไปใส่เลยก็ยังได้
รองเท้าแตะ ใช้เดินบนรถไฟ สบายกว่าใส่รองเท้าผ้าใบ
พาวเวอร์แบงค์ รถไฟขบวนใหม่ ๆ ส่วนใหญ่มีปลั๊กให้ชาร์ตแบตทุกที่นั่ง แต่ถ้าเป็นขบวนเก่าหน่อยบางทีก็ไม่มี ถ้าใช้ชีวิตแบบขาดโทรศัพท์ไม่ได้ ก็แนะนำให้เตรียมพาวเวอร์แบงค์ไปเผื่อด้วยค่ะ
โทรศัพท์มือถือ โหลดแอปแปลภาษาแบบออฟไลน์ (google translate offline) และคีย์บอร์ดภาษามองโก เลียกับรัสเซียไว้ด้วยนะคะ บนรถไฟไม่มีสัญญาณ จะมีสัญญาณแค่ตอนแวะจอดที่สถานีเท่านั้น ถ้าระหว่างนั้นต้องการสื่อสารก็ต้องใช้แอปแปลภาษาแบบออฟไลน์แล้วยื่นให้คู่สนทนาพิมพ์เอาค่ะ นอกจากนี้ก็ใช้ดูเวลา ฟังเพลง ถ่ายรูป และฆ่าเวลาอื่น ๆ ได้ค่ะ
ช้อนส้อมพกพา เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ มาม่ามองโกเลียและมาม่ารัสเซีย รวมถึงมันบดสำเร็จรูป ไม่มีช้อนส้อมแถมค่ะ
เงิน เตรียมไปให้พอดีกับการใช้งาน ในขณะนี้บัตรเครดิตไทยใช้ที่รัสเซียไม่ได้ค่ะ สามารถแลกเป็น usd ไปก่อนแล้วไปแลกเป็น rub ที่รัสเซีย ส่วนมองโกเลียใช้บัตรได้ กดเงินที่ตู้สนามบินได้ค่ะ
ทิชชู่เปียก ชีวิตที่ขาดสายชำระในห้องน้ำ
ของกิน สามารถซื้อที่ร้านค้า มินิมาร์ท หรือซุปเปอร์ เตรียมไว้ก่อนขึ้นรถไฟ ไม่จำเป็นต้องเตรียมไปจากไทย ราคาไม่ต่างกันมาก ของกินแนะนำ ได้แก่ มาม่า มันบดสำเร็จรูป เติมน้ำกลายเป็นมันบด แค่นี้ก็พอประทังชีวิตได้ ชาแบบซองแช่ ซื้อไว้เป็นกล่องเลยก็ได้ค่ะได้กินเรื่อย ๆ น้ำตาลก้อน ถ้าต้องการ และเห็นชาวรัสเซียเตรียมเป็นขนมปัง ไส้กรอก ชีส ฯลฯ บนรถไฟมีน้ำร้อนให้กดแบบไม่จำกัด และมีแก้วลายสวยกับช้อนคนให้ยืม
ของที่จำเป็นมีเท่านี้ ที่เหลือก็ตามศรัทธาเลยค่ะ
งบประมาณ
เงินที่ต้องใช้ก็ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของการเดินทาง เส้นทางการเดินทาง ถ้าแวะเยอะ ตั๋วก็จะแพงกว่า
ค่าตั๋วรถไฟลองจิ้มดูในเว็บได้เลยค่ะ ยกตัวอย่าง Vladivostok - Moscow นั่งรถไฟชั้น 3 รวดเดียว 15000 ruble หรือประมาณ 5600 บาทค่ะ
ค่าที่พักทั้งมองโกเลียและรัสเซียโฮสเทลเริ่มต้นที่ 300 บาท/คืน
ค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือประเทศมองโกเลียกับประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่ค่าครองชีพไม่แพงมาก ค่าอาหารใช้ประมาณเท่าที่ไทยก็อยู่ได้ค่ะ ลองคำนวณเป็นสัก 500 บาท/วันก็ได้ค่ะ อยู่ได้แบบสบาย ๆ ยิ่งตอนนั่งรถไฟตัวเลือกอาหารไม่มากส่วนใหญ่ก็กินมาม่าหรืออาหารสำเร็จรูป ขนมปัง ผลไม้ เตรียมไปไม่ถึงวันละ 200 บาท
ค่าอื่นๆ จิปาถะ ค่าทัวร์ที่มองโกเลียจะแพงหน่อยค่ะ ขึ้นกับจำนวนคนหาร เกาะโอคอนไบคาลก็แพงทั้งทัวร์และอาหาร ค่าเข้าพิพิธภัณฑ์ ค่าเข้าปราสาท ที่มอสโกกับเซนต์ปีเตอร์แพง
สรุปก็คือถ้าใช้ชีวิตแบบยาจกแสนประหยัด 1 wk เริ่มต้นที่ 10,000 บาท
แบบแนะนำ คือไป 2 wk แวะพักตามเมือง ก็จะใช้ประมาณ 30,000 บาทค่ะ
แบบเพิ่มเติม แวะทัวร์ แวะชมพิพิธภัณฑ์ปราสาทที่ค่าเข้าแพง 2 wk ก็อาจจะใช้ประมาณ 40,000 บาทค่ะ
(ไม่รวมตั๋วเครื่องบินนะคะ)
การเดินทางบนรถไฟ
การดูตั๋วและขึ้นรถไฟ
หลังจากจองตั๋วออนไลน์ไว้แล้ว ตั๋วก็เอาไว้ดูเลขที่นั่งเท่านั้น ไม่มีการตรวจตั๋วตอนขึ้นรถไฟ ไม่ต้องกลัวทำหาย ตอนขึ้นรถไฟใช้แค่พาสปอร์ต ต่อแถวหน้าประตู คุณผู้คุมขบวนจะเช็คชื่อ ถ้าชื่อตรงกับที่จองมาก็ขึ้นรถไฟได้เลย จากนั้นพอขึ้นมาบนรถไฟ ขบวนรถไฟออกเดินทางแล้ว จ ะมีการตรวจอีกหนึ่งครั้ง และคุณผู้คุมขบวนก็จะมาอธิบายห้องน้ำ ร้านอาหาร และรายละเอียดต่าง ๆ บนรถไฟให้ฟังคร่าว ๆ สองสามประโยค
การอ่านตั๋วก็อ่านง่ายมาก ๆ เลยค่ะ ดูเลขขบวนรถไฟตัวแรก ในตัวอย่างเป็น Train 001 คันที่ 30 ที่นั่ง 25 โดยที่ ณ สถานีก็จะมีตารางรอบรถไฟที่มาถึงและเลขขบวนรถไฟประกาศไว้ เราสามารถดูได้ว่ารถไฟที่เราจะขึ้นอยู่ชานชาลาไหน และที่ชานชาลาก็มีติดบอกอีกรอบนึง จากนั้นก็เดินหาคันของเรา โดยเลขจะแปะไว้ที่หน้าต่างรถไฟ และพอขึ้นรถไฟไปแล้วก็เดินหาที่นั่งตามเลขจะมีเขียนไว้ตัวเล็ก ๆ ที่ขอบริมทางเดินค่ะ
เวลาที่ใช้ในตั๋วรถไฟจะเป็นเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมืองน ะคะ เพราะแต่ละเมือง timezone ไม่เท่ากันอาจจะทำให้งงได้ ถ้าอยู่บนรถไฟไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ก็แนะนำให้จับเวลานับตามจำนวนชั่วโมงของการเดินทางค่ะ ว่าจะไปถึงเมื่อไหร่

การใช้ชีวิตบนรถไฟ
รถไฟบนเส้นทางทรานส์ไซบีเรีย ไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อการท่องเที่ยว แต่เป็นทางรถไฟที่ชาวรัสเซียใช้เดินทางในชีวิตประจำวันกัน เราก็เลยจะเจอคนเดินทางไปเยี่ยมญาติ ไปทำงาน กลับบ้าน มาเป็นครอบครัว
การข้ามด่านระหว่างประเทศ
การข้ามด่านออกจากประเทศมองโกเลีย และข้า มด่านเข้าไปในประเทศรัสเซีย
การท่องเที่ยวในรัสเซีย

ประเทศรัสเซียซึ่งมีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายมากมาย ทั้งธรรมชาติ สถาปัตยกรรม และยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย
การเดินทางภายในประเทศรัสเซีย
ในแต่ละเมืองก็จะมีรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถบัส และรถรางหรือแทรม วิธีการขึ้นในแต่ละเมืองก็แตกต่างกัน บางเมืองต้องซื้อตั๋วก่อนเท่านั้น บางเมืองจ่ายที่คนขับหรือตั๋วรถเมล์และจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น
รถบัสทางไกล จะต้องซื้อตั๋วก่อนที่สถานีรถบัส หรือจองออนไลน์โดยใช้บัตรเครดิตรัสเซีย ยกตัวอย่างรถบัสทางไกลที่เราได้ขึ้นได้แก่ Irkutsk - Olkhon Island, Novosibirsk - Tomsk เป็นต้น
การสื่อสารในประเทศรัสเซีย
เรียนรู้คำพูดง่าย ๆ ไว้ และสามารถใช้ google translate ส่วนใหญ่ชาวรัสเซียไม่พูดภาษาอังกฤษ
การท่องเที่ยวในมองโกเลีย

การเดินทางของเรา
แหล่งอ้างอิงและสืบค้นเพิ่มเติม
https://www.seat61.com/trans-siberian-railway.htm เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลหลายอย่างครบถ้วนเลยทีเดียว
หนังสือ Lonely Planet Trans-Siberian Railway ก็พอจะช่วยให้เห็นภาพคร่าว ๆ ของการวางแผนการเดินทางและเมืองต่าง ๆ บนเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย แต่ว่ารายละเอียดจะไม่ค่อยอัพเดตเท่าไหร่ เพราะว่าเขียนปี 2018 ราคาของรถบัสและวิธีการซื้อก็เปลี่ยนไปเยอะค่ะ