
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2568: วิธีคำนวณ และ การลดหย่อนต่าง ๆ สำหรับมือใหม่!
Feb 4
5 min read
0
28
0
ช่วงต้นปีนี้เราก็สามารถยื่นจ่ายภาษีสำหรับรายได้ในปี 2567 ที่ผ่านมาได้แล้ว สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องภาษีว่าจะต้องจ่ายอะไรบ้าง คำนวณจากอะไร และมีการหักค่าใช้จ่าย และการลดหย่อนภาษียังไงบ้าง เราจะมาอธิบายให้ฟัง จะพยายามอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายมากที่สุดนะ
สารบัญ สามารถกดข้ามไปหัวข้อที่สนใจได้เลย
ประเภทของรายได้และการหักค่าใช้จ่าย
ส่วนตัว สมรส
ประกัน
ประกันชีวิต
ประกันสะสมทรัพย์
ประกันสุขภาพ
ประกันบำนาญ
กองทุน
บริจาค
e-tax
เที่ยวเมืองรอง
อื่น ๆ
แบบขั้นบันได
ตามเงินได้พึงประ เมิน
เครื่องคิดเลขตัวช่วยคำนวณภาษีคร่าว ๆ
ภาษีคืออะไร และใครบ้างที่ต้องจ่ายภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทขอ งตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้
มีรายได้มากแค่ไหนต้องจ่ายภาษี
ถ้ารายได้ต่อปีทั้งปีรวมเกิน 60,000 บาท ต้องยื่นแบบภาษี ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม
แล้วต้องจ่ายตอนไหน
สำหรับรายได้ในปี 2567 สามารถยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 หรือยื่นภาษีแบบกระดาษสามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ทีนี้มาดูวิธีการคำนวณภาษีกัน ว่าเราจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ คิดยังไงบ้าง
ประเภทของเงินได้ และการหักค่าใช้จ่าย
เนื่องจากกฎหมายประเมินว่าแต่ละอาชีพ มีความยากง่ายและต้นทุนที่แตกต่างกัน เลยมีการแบ่งประเภทเงินได้เป็น 8 ประเภท แต่ละแ บบก็สามารถหักค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพได้แตกต่างกัน

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
เงินค่าเ ช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น
เงินได้พึงประเมินตามาตรา 40 (1) และ (2)
= หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รั บทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
เงินได้พึงประเมินตามาตรา 40 (1) และ (2)
= หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3)
= เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร
วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)
= ไม่ให้หักค่าใช้จ่าย
5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก- การให้เช่าทรัพย์สิน- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)
= การให้เช่าทรัพย์สิน เลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร
วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา ดังนี้
(ก) บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ : ร้อยละ 30
(ข) ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม : ร้อยละ 20
(ค) ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม : ร้อยละ 15
(ง) ยานพาหนะ : ร้อยละ 30
(จ) ทรัพย์สินอย่างอื่น : ร้อยละ 10
6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
เงินได้พึงประ เมินตามมาตรา 40 (6)
= เลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร
วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา ดังนี้
(1) การประกอบโรคศิลปะ : ร้อยละ 60
(2) วิชาชีพอิสระอื่นนอกจากการประกอบโรคศิลปะ : ร้อยละ 30
7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7)
= เลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร
วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา : ร้อยละ 60
8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร
วิธีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราตามการหักค่า ใช้จ่ายเฉพาะกิจการ 43 ประเภทที่ระบุต่อไปนี้
(1) การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
(1.1) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท : อัตราหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60
(1.2) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท : อัตราหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 40
การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
อัตราหักค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ หักร้อยละ 60 ทั้งหมด
(2) การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน
(3) การเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่าง ๆ
(4) การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(5) การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล
(6) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้หรือหนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(7) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(8) การทำ ตกแต่งหรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(9) การทำกิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร หรือการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มจำหน่าย
(10) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย
(11) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง
(12) การทำวรรณกรรม
(13) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(14) การทำ กิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะ ที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา
(15) การโม่หรือย่อยหิน
(16) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น
(17) การขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ
(18) การทำบล็อก และตรา การรับพิมพ์หรือเย็บสมุด เอกสารรวมทั้งการขายส่วนประกอบ
(19) การทำเหมืองแร่
(20) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
(21) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา
(22) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
(23) การทำน้ำแข็ง
(24) การทำกาว แป้งเปียกหรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง
(25) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป
(26) การซักรีด หรือย้อมสี
(27) การขายของ นอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต
(28) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง
(29) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากหรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
โดยเด็ดขาดจากการขายฝาก
(30) การรมยาง การทำยางแผ่นหรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป
(31) การฟอกหนัง
(32) การทำน้ำตาลหรือน้ำเหลืองของน้ำตาล
(33) การจับสัตว์น้ำ
(34) การทำกิจการโรงเลื่อย
(35) การกลั่นหรือหีบน้ำมัน
(36) การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
(37) การทำกิจการโรงสีข้าว
(38) การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ
(39) การอบหรือบ่มใบยาสูบ
(40) การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้
(41) การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้
(42) การทำนาเกลือ
(43) การขายเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป หรือแพ
หมายเหตุ : เงินได้ประเภทที่มิได้ระบุใน (1) ถึง (43) ให้หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร
การลดหย่อน
รายการหักลดหย่อน / ยกเว้นภาษี | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2560 (ภ.ง.ด.90 / 91) |
1. การหักลดหย่อนบุคคลธรรมดา 1.1 ผู้มีเงินได้ |
60,000 บาท
|
1.2 คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) | 60,000 บาท |
1.3 บุตร | คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร** และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษา **ในกรณีผู้มีเงินได้มีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก เว้นแต่ · ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะ นำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้ · แต่ถ้าบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน |
1.4 ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ทั้งนี้ บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน30,000 บาทในปีภาษี | คนละ 30,000 บาท |
1.5 ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ทั้งนี้ คนพิการหรือคนทุพพลภาพต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน30,000 บาทในปีภาษี | คนละ 60,000 บาท
|
1.6 ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท |
1.7 ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต · ผู้มีเงินได้
· คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีกร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท |
1.8 ลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกินร ้อยละ 15 ของค่าจ้าง) |
1.9 ยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
1.10 ยกเว้นเงินสะสมกบข. | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
1.11 ยกเว้นเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท |
1.12 ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการอยู่ในไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์ | ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท |
1.13 ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู ่ในไทย และมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษี | ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท |
1.14 ยกเว้นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ไม่รวมค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุด สัญญาจ้าง) | ยกเว้นค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท |
1.15 ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) | เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535ใช้สิทธิได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ไม่เกิน500,000 บาท เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
1.16 ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) | เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน) |
1.17 ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย · ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว
· ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม
| ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
ตามส่วนจำนวนผู้กู้ร่วม แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน100,000 บาท |
1.18 ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น | ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 13 ต.ค. 2558 ถึง 31 ธ.ค. 2559 ทั้งนี้ ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกันนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปี |
1.19 ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม | ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม* กรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท |
1.20 ลดหย่อนและยกเว้นเงินบริจาค · ยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนก ารศึกษา
· ยกเว้นค่าใช้จ่ายและเงินบริจาค ดังนี้ - ยกเว้นเงินบริจาคให้แก่ กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป) - ยกเว้นค่าใช้จ่ายการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป) - ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป) - ยกเว้นค่าใช้จ่ายให้แก่องค ์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป) - ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการกีฬา(วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561)
· ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป
· ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผ ู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560
|
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 10ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในเดือน ม.ค. ถึง ธ.ค. แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
1.5 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคจริงแต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกิน ร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น |
1.21 ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 | ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560 |
1.22 ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 | ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาทสำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560 |
|
|
2. การหักลดหย่อนผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
| 60,000 บาท
|
3. การหักลดหย่อนกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
| 60,000 บาท
|
4. การหักลดหย่อนห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
| คนละ 60,000 บาท รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท(หากหุ้นส่วนฯ อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียวหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท) |
5. การหักลดหย่อนวิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน | 60,000 บาท |
การคำนวณภาษี

วิธีที่ 1 คำนวณแบบขั้นบันได
โดยคิดจากเงินได้สุทธิและไปเทียบกับตารางขั้นบันไดและคำนวณออกมาเป็นภาษี

เงินได้สุทธิ = รายได้ตามประเภทต่าง ๆ - ค่าใช้จ่ายตามที่หักได้แต่ละประเภท - ค่าลดหย่อน

เมื่อได้เงินได้สุทธิก็ดูว่าอยู่ในอัตราภาษีไหน ซึ่งแต่ละขั้นบันไดจ่ายภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน
มาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นกัน

คิดเงินได้สุทธิได้ 200,000 นำมาเทียบกั บจารางขั้นบันได ได้อัตรา 5% ซึ่งจะต้องจ่ายภาษี 200,000-150,000*5% = 2500 บาท นั่นเอง

ลองคำนวณดูกันได้เลย และหากต้องการตรวจสอบความถูกต้องหรือเช็คตัวเลขคร่าว ๆ เราทำเครื่องคิดเลขมาให้ลองใช้กัน ตามด้านล่างนี้
วิธีที่ 2 คิดแบบเหมา
= เงินได้ทั้งหมด x 0.5%
ถ้ารายได้ที่ไม่ใช่ 40(1) เกิน 1000000 บาท
ให้เปรียบเทียบสองวิธี และต้องจ่ายตามวิธีที่คำนวณแล้วได้เยอะกว่า
โดยวิธีนี้มีข้อควรระวังคือ
จะคำนวณจากรายได้ทางอื่น ๆ ทุกทางยกเว้นเงินเดือน
หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้
หวังว่าอ่านมาจนถึงตรงนี้แล้วทุกคนจะเข้าใจเรื่องภาษีกันมากขึ้น ถ้ามีข้อสงสัยตรงไหนก็โทรถามสรรพากรได้เลย!
แถม ๆ เครื่องคิดเลขแบบขั้นบันไดเสริมรายละเอียด ลองเล่นดูได้ แต่ไม่แน่ใจว่าถูกรึเปล่า